การเดินทางค้นหาอะไรบางอย่างเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามที่ค้างคาใจมานาน จึงเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางทางบ้านสันเจริญ ต.ผากอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน เลี้ยวซ้ายมือบนเส้นทาง 1080 มุ่งสู่ทางเส้น 1148 อ.ท่าวังผา - อ.สองแคว กม.ที่ 15 เลี้ยวซ้ายมือ ปากทางเข้าบ้านปากโมกอีก 12 กม.สู่ปากทางเข้าบ้านสันเจริญและน้ำออกรู เดินทางเข้าหมู่บ้านอีก 4 กม.ถึงบริเวณน้ำตก ในอดีตนั้นสถานที่แห่งนี้เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่และมีลำธารไหลออกมาซึ่งชาวบ้านที่สัญตรไปมาจะได้ยินเสียงน้ำดังกังวาล และไม่กล้าเข้าไปใกล้เพราะดูน่ากลัว มีคนเล่าว่าครั้งหนึ่งมีเด็กเข้าไปหาปลาในอุโมงค์เป็นเวลานานแล้วไม่กับออกมาทำให้พ่อแม่เป็นห่วงและได้เข้าไปตามหาแต่สุดท้ายก็หายไปด้วย หลังจากนั้นมีสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย มักหายอยู่บ่อย ๆ ต่อมาได้เกิดฟ้าผ่าอย่างรุนแรงบริเวณปากอุโมงค์ จนทำให้ดินถล่มปิดปากอุโมงค์จนมาถึปัจจุบันเหตุการณ์ครั้งนั้นจ่าจะเกิดขึ้นมา 700 กว่าปีมาแล้ว จากหลักฐานทางโบราณวัตถุคือวัดร้างอยู่ห่าว
[+/-] |
น้ำออกรู ภูสันเจริญ |
งทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน 100 เมตร ส่วนลำห้วยนี้ได้ขนานนามว่า "น้ำลัก" และได้นำมาตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "น้ำลักเหนือ" ช่วงก่อตั้งหมู่บ้านใหม่ ๆ และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "บ้านสันเจริญ" ซึ่งน้ำออกรูเป็นสถานที่พักผ่อนของคนในชุมชนหมู่บ้าน และเป็นที่ท่องเที่ยวของนักเดินทาง
[+/-] |
ดอยภูคา (Doi PhuKha) |
อุทยาน แห่งชาติดอยภูคา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 94 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2542 มีเนื้อที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ (1,074 ตร.กม) ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ทิศเหนือ ติดต่อกับท้องที่ ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติแม่จริมท้องที่ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติขุนน่านท้องที่ ตำบลบ่อเกลือเหนือ – บ่อ เกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.ศิลาเพชร ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน
ขนาดพื้นที่
1065000.00 ไร่
หน่วย งานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอย ภูคา ที่ 1 (ห้วยโก๋น)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ ภค 2 (น้ำตกแม่จริม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 3 (น้ำปูน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 4 (ขุนน้ำแนะ)
หน่วย พิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 5 (ห้วยโป่ง)
หน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 6 (นากอก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ดอยภูคา ที่ 7 (น้ำอวน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 8 (ภูแว)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 9 (บ้านด่าน)
หน่วย พิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 10 (ดอยผาผึ้ง)
หน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 11 (น้ำยาว)
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ภาพแผนที่
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยดงหญ้าหวายเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหินชั้น และหินอัคนี โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำทีอุดมสมบูรณ์
1. ลักษณะทางธรรมชาติ
1.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน พื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดใน จังหวัดน่าน โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2531) แต่ปัจจุบันยอดดอยภูคา มีความสูง 1,910 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2542) ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหิน และหินปนทราย โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย
1.1.1 ธรณีวิทยา
จากรายงานการสำรวจทางธรณีวิทยา (A.Hess and K.E. Kock 1975) พบว่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาประกอบไปด้วย หิน 2 ประเภท คือ หินชั้น หรือ หินตะกอน (Sedimentary) เป็นส่วนใหญ่ และมี หินอัคนี (Igneous Rock) บ้างเล็กน้อย
หินชั้นที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จำแนกตามอายุของหิน จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
1) หินที่มีอายุในมหายุคพาลีโอโซอิค (Pareozoic Era) ซึ่งประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้
- หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส ตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่าง (Upper Carboniferous – Lower Permain Period) มีอายุระหว่าง 345 - 230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) หินปูน (Lime Stone) หินกรวดมน (Conglomelate) หินแกรแวด (Greywaeke) และหินเชิร์ท (Chert) จะพบหินดังกล่าวนี้ทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาฝั่งตะวันตกของลำ น้ำว้าเป็นแนวแคบ ๆ ช่วงอำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม
- หินยุคเปอร์เมียน (Permian Period) มีอายุระหว่าง 280–230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินปูน (Lime Stone) บริเวณดังกล่าวนี้จะพบอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอุทยานแห่งชาติ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- หินยุคเปอร์เมียน-ไทรแอสสิค (Permian-Triassic Period) มีอายุระหว่าง 250 – 195 ปี ประกอบด้วยหินเช่นเดียวกับหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์ เมียนตอนล่าง แต่มีอายุน้อยกว่า พบหินยุคนี้เป็นบริเวณกว้างทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ ทั้งตอนบนและตอนล่างจะพบหินในยุคนี้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม
- หินที่มีอายุในยุคไทรแอสสิคตอนบนถึงยุคจูแรสสิค และครีเตเซียส (Upper Triassic-Jurassic and Cretaceous Period) จะพบหินในยุคนี้ประมาณ 195 – 18 ล้านปีประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) หินดังกล่าวนี้จะพบเป็นบริเวณกว้างทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ตามแนวเหนือ-ใต้ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอสันติสุข
2) หินที่มีอายุอยู่ในมหายุคนีโอโซอิค (Neozoic Era) ประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้
- หินยุคเทอเทียรี่ (Tertiary Period) มีอายุระหว่าง 65 ล้านปี ถึง 1 แสนปี หินที่พบในยุคนี้ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) จะพบหิน ดังกล่าวนี้เล็กน้อย ทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ
- หินยุคควอเตอร์นารี (Quaternary Period) ประกอบไปด้วยตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวมีตั้งแต่ขนาดกรวดจนถึงดินเหนียว เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนร่องน้ำต่าง ๆ
- หินอัคนี (Igneous Rocks) ที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติ มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหินชั้นหรือหินตะกอน หินที่มีอายุมากที่สุดได้แก่หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอน ล่างประกอบด้วยหินทัฟ ( Tuff ) ที่มีเนื้อหินสีเข้ม นอกจากนี้ยังพบหินอัคนี ที่มีอายุอยู่ในยุคไตรแอสสิค ประกอบด้วยหินแกรนิต (Granite) หินแกรโนไดโอไรท์ (granodiorite) พบบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
1.1.2 ทรัพยากรดิน
พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชุดดินที่ 62 ชุดดินนี้จะพบบริเวณพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 %ในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของ หินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่าง ๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้นหลายแห่ง มีการทำไร่เลื่อนลอยโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินจนบางแห่งเหลือแต่หินพื้นโผล่ ได้แก่ชุดดินที่ลาดชันเชิงซ้อน (Sc) กลุ่มดินนี้ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่ มีผลกระทบต่อระบบนิเวศควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำ ลำธาร
1.1.3 ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีลำน้ำซึ่งต้นกำเนิดจากเทือกเขาสูงที่สำคัญ มีดังนี้
1) ลำน้ำว้า เกิดจากลำน้ำในเทือกเขาจอมในเขตอำเภอบ่อเกลือ ไหลผ่านอำเภอ แม่จริม แล้วไปบรรจบแม่น้ำน่าน ในเขตตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา
2) ลำน้ำกอน มีต้นน้ำเกิดจากดอยภูคา ไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบกอน อำเภอเชียงกลาง
3) ลำน้ำปัว เกิดจากธารน้ำในเทือกเขาดอยภูคา ทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอปัว แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบปัว อำเภอปัว
4) ลำน้ำยาว มีต้นกำเนิดจากประเทศลาว ไหลผ่านอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา
5) ลำน้ำย่าง มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลผ่านอำเภอปัว มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา
6) ลำน้ำอวน มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลมาบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบยาว กิ่งอำเภอภูเพียง
7) แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาขุนน้ำน่าน มีลำน้ำสาขาไหลมาบรรจบ ในเขตจังหวัดน่าน เป็นจำนวนมาก จากอำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว อำเภอเมือง อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น แล้วไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ ในเขตอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน : ระหว่างเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม จะมีฝนตกชุก
ฤดูหนาว : ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม – มกราคม
จะมีอากาศหนาวจัด และมีอุณหภูมิต่ำสุด 2.0 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน : ระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 8-10 °C ฤดูร้อนเป็นช่วงสั้นๆ คือ เดือนมีนาคม - เมษายน อากาศจะเย็นสบาย
พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
ทรัพยากรป่าไม้
1. ป่าไม้/การใช้ที่ดิน
ประเภท ป่าไม้และการใช้ที่ดิน
ป่าดิบเขา เนื้อที่ 315,000 ไร่ คิดเป็น 29.6 %
ป่าดิบแล้ง เนื้อที่ 262,500 ไร่ คิดเป็น 24.6 %
ป่าเบญจพรรณ เนื้อที่ 262,500 ไร่ คิดเป็น 24.6 %
ป่าเต็งรัง เนื้อที่ 92,400 ไร่ คิดเป็น 8.6 %
ป่าเสื่อมโทรม (ไร่ร้าง) เนื้อที่ 12,000 ไร่ คิดเป็น 1.2 %
พื้นที่ทำกินของราษฎร เนื้อที่ 108,100 ไร่ คิดเป็น 10.2 %
อื่นๆ เนื้อที่ 12,5001.3 ไร่ คิดเป็น 1.2 %
ที่มา : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา,2546
2. ลักษณะของป่าและพืชพันธุ์ไม้ป่า
ป่าดอยภูคาแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามสภาพป่า
2.1. ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) เป็นป่าที่มีความอุสมบูรณ์ มีอยู่ตามหุบเขา ริมน้ำลำธาร ส่วนใหญ่อยู่ตอนใต้ตอนกลาง และตอนเหนือของพื้นที่บางส่วน มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่พรรณไม้ที่สำคัญ คือ ก่อยาง ตะเคียน มะค่าโมง มณฑาป่า จำปีป่า กำลังเสือโคร่ง ไม้พื้นล่าง ประกอบด้วย หวาย ผักกูด มอส เฟริ์น กล้วยไม้ ฯลฯ
2.2. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ตามหุบเขา มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่พันธ์ไม้ที่สำคัญ คือ ยาง ตะเคียน มะค่าโมง จำปีป่า ประดู่ ก่อ ต้นชมพูภูคา เป็นต้น พันธุ์ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เฟริ์น หวาย เถาวัลย์ชนิดต่างๆ
2.3. ป่าเบญจพรรณ (Deciduous forest) มีอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าดอยภูคา บริเวณที่ราบตามรอบพื้นที่ และบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ยาง มะค่าโมง ประดู่ แดง ตะแบก ไม้พื้นล่างประกอบด้วยไม้ไผ่ชนิดต่างๆ
2.4. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) เป็นป่าที่มีอยู่บริเวณโดยรอบของพื้นที่ตามลาดเขา และบนภูเขาในพื้นที่บางจุดป่าประเภทนี้มีอยู่น้อยมาก เนื้อที่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะค่า พะยอม รกฟ้า ไม้พื้นล่างประกอบด้วย มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเเพ็ก
2.5. ป่าสนธรรมชาติ ( Pine forest) มีขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ในพื้นที่ตอนใต้ของอุทยานฯใกล้ๆกับดอยภูหวดส่วนใหญ่จะขึ้นผสมกับป่าเต็งรัง ลักษณะเป็นสน 3 ใบ
3. พันธุ์ไม้ป่าหายากและพรรณไม้เฉพาะถิ่น
เนื่องจากอุทยานฯ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูง บางพื้นที่มีลักษณะจำเพาะ พรรณพืชบางชนิดที่พบในพื้นที่อุทยานเป็นพรรณไม้หายาก หรือพรรณไม้เฉพาะถิ่น เนื่องจากมีการกระจายในวงจำกัด ประกอบกับสภาพป่าที่ได้ถูกแปรสภาพหรือถูกรบกวนโดยปัจจัยต่างๆ
4. พืชไม้ล้มลุก
เช่น ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน พืชเฉพาะถิ่น ขาวละมุน เทียนดอย พืชหายาก ฯลฯ
5.พืชชนิดไม้เลื้อย
เช่น เสี้ยวเครือ (Bauhinia variegata) มะลิภูหลวง พืชหายาก นมตำเลีย พืชเฉพาะถิ่น ฯลฯ
(นายปรัชญา ศรีสว่าง.ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่มีท่อลำเลียงในพื้นที่อุทยานแห่ง ชาติดอยภูคา วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2548 )
ทรัพยากรสัตว์ป่า
สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) ป่าเบญจพรรณ (Evergreen forest, Deciduous forest) ป่าเต็งรัง (Dry diterocarp forest) สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่อย่างชุกชุม ได้แก่ เก้ง (Muntiacus muntjak Zimmermann.) กวางป่า (Cervus unicolor Kerr.) หมูป่า (Sus sorofa Linnaeus.) เลียงผา (Capricornis sumatraensis Bechstein.) ชะนีธรรมดา (Hylobates lar Linnaeus.) อีเห็นธรรมดา (Paradoxurus hormaphroditus Pallas.) หมีควาย (Selenatos thibetanus G. Cuvier.) ซาลาเมนเดอร์หรือจิ้งจกน้ำ เป็นต้น
การเดินทาง
การคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร
เส้นทางคมนาคม
- ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ถึง อุทยานแห่งชาติ 753 กิโลเมตร
- ระยะทางจากจังหวัดน่าน โดยรถยนต์ไปตามทางหลวง 1080 ถึง อำเภอปัว ระยะทาง 60 กิโลเมตร แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว – บ่อเกลือ) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ - ดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตร
การติดต่อสื่อสาร
ไปรษณีย์ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120 โทรศัพท์/ แฟกซ์ ( สำนักงาน ) 054-701000 begin_of_the_skype_highlighting 054-701000 end_of_the_skype_highlighting , 054-731-362 begin_of_the_skype_highlighting 054-731-362 end_of_the_skype_highlighting
( มือถือ ) 089-554-1231 begin_of_the_skype_highlighting 089-554-1231 end_of_the_skype_highlighting
www.dnp.go.th E-mail : phukha_np@hotmail.com
วิทยุสื่อสาร ระบบที่ใช้ VHF ( FM ) คลื่นความถี่ 173.775 เมกกะเฮิร์ต
คลื่นความถี่ 173.825 เมกกะเฮิร์ต SSB ( AM ) รหัสเรียกขานของ หน่วยงาน ภูคา
Subscribe to:
Posts (Atom)