รถด่วนหรือ หนอนกินเยื่อไผ่




รถด่วนหรือ หนอนกินเยื่อไผ่, หนอนไม้ไผ่, หรือ ตัวแน้ (bamboo caterillar)
หนอนกินเยื่อไผ่, หนอนไม้ไผ่, รถด่วน, ตัวแน้ นี้ จะกินเยื่อไผ่เจาะมักเป็นลำอ่อนของไผ่ซาง ไผ่หก ไผ่เป๊าะ ไผ่ตง ไผ่ซางคำหรือไผ่หมาจู๋ (Dendrocalamus latiflorus Munro) ไผ่บง (Bambusa natans Wall. Ex Munro) และไผ่หนามหรือไผ่ป่า (ลีลา และสุพร, 2539) ไผ่ซางดอยหรือไผ่ไล่ลอ (เดชา และสมาน, 2535) ไผ่สีสุก ไผ่หอม (B. polymorpha Munro) ไผ่เหลือง (B. vulgaris Schrader) ไผ่บงดำ (B. tulda Roxb.) ไผ่บงใหญ่ ไผ่รวกดำ (Thyrsostachys oliveri Gamble) ไผ่รวก ดดยขนาดของลำไผ่และมีความหนาบางของเนื้อไม้จะเป็นข้อจำกัดในการทำลายของตัว หนอน ไผ่ที่พบการทำลายมากที่สุด คือ ไผ่ซางดอยหรือไผ่ไล่ลอ รองลงมาคือ ไผ่หก ไผ่ซางนวล ไผ่ตง และไผ่ซางคำ ตามลำดับ

ลักษณะทั่วไป:เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ขนาดกางปีกเต็มที่ประมาณ 3.0-6.0 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับเพศ กล่าวคือผีเสื้อเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ปีกมีสีน้ำตาลส้มปนดำ มีลวดลายซิกแซก สีดำที่ขอบปีกคู่หน้าเห็นได้ชัดเจน ผีเสื้อมีหนวดแบบเส้นด้ายทั้งสองเพศ ไข่สีขาวปนเหลือง หรือสีครีม ขนาดประมาณ 0.1 เซนติเมตร ตัวหนอนมีสีขาวขุ่น ส่วนอกสีน้ำตาลอ่อน หัวสีน้ำตาลเข้ม ข้างลำตัวมีจุดสีดำขนาดเล็ก ปล้องละ 1 คู่ตลอดลำตัวประมาณ 9 คู่ โดยอยู่ที่อก 1 คู่ และที่ท้อง 8 คู่ ตัวหนอนมีขนอ่อนๆกระจายห่างๆกันตามลำตัว ตัวหนอนเมื่อโตเต็มที่มีขนาดความยาว 3.5-4.0 เซนติเมตร

ดักแด้ ดักแด้มีสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เป็นดักแด้เปลือยไม่มีใยหุ้ม แต่จะเข้าดักแด้รวมกลุ่มกันในปล้องไม้ไผ่และสร้างเยื่อกั้นไว้

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนออกจากดักแด้ในราวเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม โดยมีอัตราส่วนเพศของผีเสื้อระหว่างเพศผู้และเพศเมียจะเป็น 1:1 ผีเสื้อตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 8-20 วัน ขึ้นอยู่กับท้องที่ และมีพฤติกรรมในการบินเล่นไฟในเวลากลางคืน

การผสมพันธุ์และการ วางไข่ การผสมพันธุ์จะเกิดในเวลากลางคืน เช่นเดียวกับการวางไข่ ซึ่งไข่จะถูกวางเป็นกลุ่มสีขาวขุ่น ไว้ที่หน่อไผ่ที่มีอายุประมาณ 10-15 วัน โดยผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 250-300 ฟอง และไข่ใช้เวลาฟัก 2-6 วัน

รถด่วน สุดยอดอาหารโปรตีนสูง ที่หากินยากมากไข่ของผีเสื้อหนอนกิน เยื่อไผ่ใช้เวลาฟักประมาณ 2-6 วัน ในเดือนกรกฎาคมคมจนถึงสิงหาคม ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะมีสีน้ำตาลใส และอยู่เป้นกลุ่มใหญ่ในระยะแรก ต่อมาจะเริ่มเจาะเข้าไปในลำไผ่ในขณะที่หน่อกำลังยืดตัว ทำให้เกิดเป็นรูที่มีขนาด 0.5 มิลลิเมตร เพียงรูเดียวที่ข้างปล้อง และตัวหนอนทั้งหมดจะอาศัยรูนี้เข้าสู่ปล้องไผ่ หลังจากนั้นตัวหนอนจึงเริ่มกระจายกันออกหากินเยื่อไผ่ โดยการเจาะทะลุข้อของปล้องขึ้นสู่ยอด การกินอาหารจะยังจับตัวกันเป้นกลุ่มๆตลอดทั้งปล้อง แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่ปล้องอื่นๆต่อไป สังเกตได้จากการที่ภายในปล้องจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และมีมูลสีดำของตัวหนอนอยู่ภายใน แต่สำหรับไผ่ซางคำจะพบมูลหรือสิ่งขับถ่ายเป็นเมือกอัดแน่นภายในปล้องบางส่วน ของไม้ไผ่ เช่น บริเวณยอดของลำจะมีรอยแตกหักเสียหาย อันเนื่องมาจากการทำลายของตัวหนอน

รถด่วน สุดยอดอาหารโปรตีนสูง ที่หากินยากมากระยะพักตัวของตัวหนอน ในเดือนธันวาคม ตัวหนอนที่โตเต็มที่จะเริ่มเคลื่อนย้ายจากยอดไผ่ลงมารวมกันที่จุดที่ตัวหนอน เจาะเข้าไปในครั้งแรก หรือเหนือขึ้นไปอีกหนึ่งปล้อง แต่มักจะเป็นปล้องที่อยู่เหนือปล้องที่ตัวหนอนเจาะเข้า 1 ปล้อง เพื่อเข้าสู่ระยะพักโดยไม่กินอาหารตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม และตัวหนอนจะสร้างเยื่อบางๆปิดรูระหว่างปล้องไว้เพื่อป้องกันน้ำฝนและศัตรู ธรรมชาติ ก่อนที่ตัวหนอนจะเข้าดักแด้ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งจำนวนตัวหนอนที่พบจะมีประมาณ 85-235 ตัวต่อลำ (เดชา และสมาน, 2535) ตัวหนอนใช้เวลา 270-300 วัน เป็นที่น่าสังเกตว่าไผ่ที่ถูกตัวหนอนทำลาย 12-15 ปล้องโดยเฉพาะปล้องที่ 11-15 จะถูกทำลายอย่างหนัก และไผ่ลำหนึ่งพบตัวหนอนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ลำไผ่ที่ถูกทำลายด้วยหนอนเยื่อไผ่นี้เป็นไผ่ลำใหม่ของปี ลำไผ่มักมีรูเนื่องจากนกหัวขวานเจาะหาอาหารเป็นระยะๆ หรือที่ปลายหน่อ มีรอยแตกอันเนื่องจากตัวหนอนกินเยื่อไผ่ จนกระทั่งถึงเนื้อไม้ไผ่

การเข้าดักแด้ ตัวหนอนจะเข้าดักแด้เป็นกลุ่มที่ปล้องที่ตัวหนอนใช้พักตัว อาจเข้าดักแด้ที่ข้อ หรือข้างปล้องก็ได้ และมีเยื่อบางๆปิดกลุ่มดักแด้ไว้ ดักแด้จะใช้เวลา 40-45 วัน ในเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม (เดชา, 2535) และ 46-60 วัน ในเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม (ลีลา, 2537)

วงจรชีวิต:วงจรชีวิติจากระยะไข่จนเป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ตัวเต็มวัยมีอายุ 8-20 วัน ไข่ใช้เวลา 2-6 วัน ตัวหนอน 270-300 วัน ดักแด้ 40-60 วัน