ไหว้พระเก้าวัดเมืองที่ “เมืองน่าน”
ไหว้พระเก้าวัดเมืองที่ “เมืองน่าน”
1.วัดพระธาตุเขาน้อย
จากอำเภอเวียงสาไปในตัวเมือง 25 กิโลเมตร แต่จากบ้านแม่ไป 18 กิโลเมตร มุ่งหน้าสู่ตัวเมือง วัดแรกที่เราจะแวะเลยก็คือวัดพระธาตุเขาน้อย เพราะถ้าหากเข้ามุ่งหน้าสู่ตัวเมืองจังหวัดน่านจะเจอวัดพระธาตุเขาน้อยอยู่ซ้ายมือ สูงเด่นเป็นสง่า และเห็นยอดพระธาตุแต่ไกล วัดพระธาตุเขาน้อยเป็นวัดที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองน่านมานานแสนนานว่ากันว่าอยู่มาคู่กับวัดพระธาตุแช่แห้งเลยทีเดียวครับ และวัดพระธาตุเขาน้อยนี้เองสามารถมองเห็นวิวตัวเมืองน่านได้อย่างชัดเจน หากไปยืนอยู่ที่วัดพระธาตุเขาน้อยนี้เราจะได้รู้ว่าเมืองน่านนี้ไม่ใหญ่นักเลยเป็นเมืองที่เล็กมากพอกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เลย วัดพระธาตุเขาน้อย อยู่บนยอดเขาน้อยบ้านดู่ใน ห่างจากศาลากลางจังหวัด ในทางทิศตะวันตก ประมาณ ๒ กิโลเมตร ยอดเขาสูง ประมาณ ๘๐๐ ฟุต มีเส้นทางรถยนต์สามารถขึ้นไปยอดพระธาตุได้ด้วย และมีทางบันไดเดินขึ้นวัดพระธาตุเขาน้อยได้ด้วย คนโบราณเค้าสันนิษฐานว่า มีอายุใกล้เคียงกับ วัดพระธาตุแช่แห้งมีความเชื่อว่ายอดพระธาตุเขาน้อยและขอดพระธาตุแช่แห้งจะส่องแสงหากันวันเข้าพรรษา จะเห็นเป็นเส้นพาดผ่านตัวเมืองไป แต่นี่ก็เป็นตำนานเล่าขานกันมาและเป็นความเชื่อส่วนบุคคล
2.วัดศรีพันต้น
วัดศรีพันต้นเป็นวัดที่สวยงามและได้การบูรณะใหม่มีสีเหลืองอร่ามงดงามยิ่งนัก วัดศรีพันต้นตั้งอยู่มุมสี่แยกพันต้น หากเดินทางจากเมืองแพร่เข้าเมืองน่านจะเห็นได้ชัดเจน เพราะหากใครเดินทางมาจากเมืองแพร่จะเห็นเด่นสง่าอยู่ที่สี่แยกพันต้น ทางด้านซ้ายมือ ภาพผนังโบสถ์ของวัดวัดศรีพันต้นนี้เป็นภาพวาดประวัติศาสตร์เมืองน่าน ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเมืองน่านทั้งหมดและได้การบูรณะใหม่ให้มีสีสันที่งดงามเหมาะแก่การเยี่ยมชมยิ่งนัก หากใครได้มีโอกาสไปเมืองน่านอย่างผมก็ลองแวะชมกันได้ครับเพราะเมืองน่านเค้ามีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและเหมาะแก่การอนุรักษ์ไว้ยิ่งนัก
3.เสาหลักเมืองน่านและวัดมิ่งเมือง
เสาหลักเมืองน่านมีมาตั้งแต่นานมากแล้วที่พบซากของวิหารก็ประมาณปีพ.ศ. 2400 มีเสาหลักเมืองเป็นท่อนซุงขนาดใหญ่มากหากเอาคนโอบก็ประมาณสองคนโอบได้ ต่อมาเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้สถาปนาชื่อใหม่ให้คือ “วัดมิ่งเมือง”ที่ชาวน่านเค้าเรียกกันมาจนถึงปัจจุบันนี้นี่เอง ต่อมาปี พ.ศ. 2527 ได้มรการรื้อถอนเพื่อสร้างวิหารหลังใหม่เป็นแบบล้านนาร่วมสมัยจนอยู่ถึงปัจจุบัน แต่วัดมิ่งเมือง ก็ได้มีการบูรณะมาเรื่อยๆเพื่อให้และมีความสวยงามจนมาถึงปัจจุบันนี้ ความสวยงามของวัดมิ่งเมืองนี้ยากที่จะบรรยาย และวัดมิ่งเมืองนี้ก็มีเสาหลักเมืองตั้งอยู่หน้าวิหาร เป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่อยู่คู่เมืองนานมาช้านาน และเป็นที่ศักการะบูชาของคนทั่วไป เสาร์อาทิตย์จะมีมัคคุเทศน้อยมาคอยให้ความรู้เราอยู่ที่วัดมิ่งเมืองด้วย สังเกตุได้ง่ายๆก็คือน้องๆจะแต่งชุดนักเรียน น่ารักไปอีกแบบ ทำให้เราได้ความรู้ไม่น้อย
4.วัดภูมินทร์
วัดภูมินทร์เป็นวัดที่โด่งดังไปทั่วโลกเพราะมีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปกรรมไทลื้อ ที่เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีตที่งดงามและที่โด่งดังเอามากและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกก็คือ “ภาพเสียงกระซิบ” เป็นภาพชายกระซิบข้างหูหญิงนางหนึ่ง เราจะเรียกได้ว่า “ภาพเสียงกระซิบบันลือโลก” วัดภูมินทร์จะมีความแปลกไม่เหมือนวัดอื่นในเมืองน่านก็คือโบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั่งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่าน นอกจากนี้ฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุดสมัยที่ผ่านมา ตามพงศาวดารของเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้น หลังจากขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปี ปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์ " ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างแต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ดั้งกล่าว ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยคือ เป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจัตุรมุข (กรมศิลปากร ได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจัตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน และวัดภูมินทร์ก็อยู่ในความดูแลของกรรมศิลปากรเพื่อจะได้เก็บไว้ให้ลูกหลานดูต่อๆไป หากเดินทางเข้ามาจากจังหวัดแพร่แล้วสี่แยกพันต้นเลี้ยวขวาเลยวัดมิ่งเมืองมาสักห้าร้อยเมตรจะเห็นได้เด่นชัดอยู่ทางด้านขวามือ อยู่ด้านข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ไม่สามารถเอารถเข้าไปจอดในวัดได้ แต่จะมีสถานที่จอดรถอยู่ข้างๆวัด สะดวกในการเดินทางเพราะเมืองน่านเค้าไม่แออัด ถนนหนทางนั้นดีนักเหมาะแล้วที่เป็นเมืองน่าอยู่จริงๆ และวัดภูมินทร์นี้ก็เป็นวัดที่นับว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีความสมบูรณ์อย่างมาก และจะหาดูที่ไหนในดินแดนล้านนาไม่ได้อีกแล้ว
5.วัดน้อย
วัดน้อยเป็นวัดที่เล็กที่สุดในโลก ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านหรือเรียกแบบพื้นบ้านว่า “หอคำ” เดิมเป็นคุ้มของ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช สร้างขึ้นเมื่อปี 2446 และที่หอคำนี้เองมีสิงศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอยู่คือ “งาช้างดำ” ตามประวัติกล่าวว่า พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นผู้ที่ได้มาเมื่อประมาณปี 1896 เป็นงาข้างซ้ายปลียาว 94 เซนติเมตร วัดโดยรอบส่วนโคนได้ 47 เซนติเมตร น้ำหนัก 18 กิโลกรัม เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. และวัดที่เล็กที่สุดในโลกนี้มีตำนานเล่าขานกันมาว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ได้กราบบังคมทูลถึงจำนวนวัดในเมืองน่านต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แต่ปรากฏว่านับจำนวนเกินไป 1 วัด จึงได้สร้างวัดน้อยแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อให้ครบตามจำนวนที่กราบทูล พระองค์เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 5 เพียงครั้งเดียวใน พ.ศ.2516 วัดน้อยคงสร้างหลังจากนั้น รูปทรงของวัดเป็นวิหารก่ออิฐ ถือปูน ขนาดกว้าง 1.98 เมตร ยาว 2.34 เมตร สูง 3.35 เมตร แบบศิลปะล้านนา สกุลช่างน่าน มีพระพุทธรูปและแผงพระพิมพ์ไม้ประดิษฐานอยู่ภายในวัดน้อยแห่งนี้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้วัดน้อยเป็นอันซีนไทยแลนด์(Unseen Thailand)อีกด้วย
6.วัดช้างค้ำวรวิหาร
วัดช้างค้ำวรวิหารอยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน(หอคำ) เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรงสร้างตามสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลางทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็กอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบันตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลักลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนอกระย้าย้อยเหมือนลวดลายที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์ ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ วัดช้างค้ำวรวิหารได้บูรณะใหม่มาหลายครั้งเนื่องจากว่ามีการชำรุดทรุดโทรมจากการที่ได้มีรถวิ่งผ่านถนนด้านข้างวัดช้างค้ำวรวิหารเอง แม่เล่าให้ฟังต่อว่าได้มีการปิดถนนด้านข้างพระธาตุหรือถนนหน้าหอคำอยู่หลายครั้ง เนื่องจากการวิ่งของรถทำให้พระธาตุสะเทือนและนำไปสู่การชำรุดทรุดโทรมเร็วกว่าโดนแดดโดนฝนตามธรรมชาติเสียอีก หากอย่างไรนายหมูหินเองก็ฝากผู้ดูแลและนักท่องเที่ยวและชาวเมืองน่านช่วยกันดูแลเพื่อลูกหลานจะได้เห็นต่อๆกันไปนะครับ และภายในวัด วัดช้างค้ำวรวิหารเองก็มีโรงเรียนสอนพระภิกษุสามเณรอยู่ด้ายซ้ายของวัด เป็นสถานที่เล่าเรียนของพระพุทธศาสนาของเมืองน่านนั่นเองครับ
7.วัดหัวข่วง
จากวัดช้างค้ำวรวิหารมาวัดหวัดหัวข่วงไม่ไกลเพราะอยู่เยื้องด้านหลังวัดช้างค้ำ หรืออยู่ด้านข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน(หอคำ) เป็นวัดที่สวยงามอีกวัดหนึ่งในเมืองน่านเพราะมีความสะอากเป็นระเบียบเรียบร้อย สงบร่มเย็น ภายในวัดหัวข่วงมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับพระเจ้าทองทิพย์ เฉพาะพระพักตร์แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลผสมระหว่างศิลปะพระพุทธรูปปางมารวิชัย และพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ส่วนชายจีวรที่ยาวมาจรดบั้นพระองค์แลดูสั้นกว่าปกติ อาจจะเป็นเพราะการยืดส่วนบั้นพระองค์ให้สูงขึ้นรับกับพระวรกายที่เพรียวบาง พระพุทธรูปองค์นี้คงมีอายุระหว่างครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 21 และวัดหัวข่วง ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงใน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สร้างด้วย ศิลปะล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 และมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามภายในพระวิหารด้วย วัดหัวข่วงเองมีหอไตรตั้งอยู่ด้านนอกวิหาร ส่วนใหญ่แล้วปลูกไว้บนบก เป็นอาคารทรงสูง ใต้ถุนโปร่งหรือก่อทึบ ส่วนใหญ่จะทำบันไดไว้ในตัวอาคาร แต่บางแห่งใช้บันไดพาดขึ้นทางด้านนอก รูปทรงโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับอุโบสถหรือวิหาร แต่มีขนาดเล็ก เช่น หอไตรวัดภูมินทร์ วัดนาปัง วัดข่วง และวัดทุ่งน้อย ซึ่งมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากมีการสลักลวดลายที่ฝาด้านนอก ส่วนหลังคาเดิม คงเป็นหลังคาจั่วมีชั้นลดแบบปั้นหยา แต่ในปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ทำให้รูปทรง ของอาคารหลังเดิมสูญเสียไป และเมื่อปี พ.ศ.2549 วัดหัวข่วงก็โดนน้ำท่วมอีกระรอกสร้างความเสียหายให้แก่วิหารและหอไตรไม่น้อย
8.วัดสวนตาล
จากวัดหัวข่วงไปวัดสวนตาลประมาณ 2 กิโลเมตรได้ วัดสวนตาลว่ากันว่าเป็นที่สุดท้ายของเจ้านายในสมัยก่อนเพราะเป็นวัดที่ใช้เป็นที่จุติก่อนขึ้นสวรรค์ วัดสวนตาลตั้งอยู่ที่ถนนมหายศ สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมวดี เมื่อ พ.ศ.1770 เจดีย์มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่างมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ จากภาพถ่ายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รูปเจดีย์วัดสวนตาลก่อนการบูรณะในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (ตรงกับรัชกาลที่ 5) เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์พระเจดีย์เป็นทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลศิลปะสมัยสุโขทัย ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1992 เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้ว มีงานนมัสการและสรงน้ำเป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และมีการเฉลิมฉลองทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ว่าจะแห่เทศกาลของหลายๆรายการของจังหวัดน่านก็จะมารวมกันที่วัดสวนตาลแห่งนี้เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลนั้นๆไป วัดสวนตาลมีสถานที่ที่กว้างขวางมีลานกว้างและมีวิหารที่สวยงาม
9.วัดพระธาตุแช่แห้ง
ปิดท้ายทริปวันแม่นี้ด้วยการไหว้พระ 9 วัดที่วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้งเป็นวัดประจำจังหวัดน่านและเป็นวัดประจำวันของคนเกิดปีเถาะ เป็นที่นับถือสักการะบูชาของคนเมืองน่านและคนต่างถิ่นเจดีย์พระธาตุแช่แห้ง ลักษณะขององค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตามตำนานเดิมและพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวว่า เจ้าพระยาการเมือง เจ้าผู้ครองนครปัวหรืออำเภอปัวในปัจจุบัน สร้างขึ้นในระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นมีการสร้างเสริมโครงสร้างหลายครั้งด้วยกัน ครั้งสุดท้าย เจ้าศรีสองเมืองได้สร้างเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบองค์เดิม เมื่อ พ.ศ. 2153 หากว่าพูดถึงอายุของวัดพระธาตุแช่แห้งนี้ก็อายุราวๆ 600 ปีทีเดียว ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง ตามพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวว่า พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ. 1897-1901 ปัจจุบันองค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 22.5 เมตร สูง 55.5 เมตร บุด้วยทองเหลืองหรือทองจังโก ลงรักปิดทองตลอดทั้งองค์ หากไปสักการะบูชาวัดพระธาตุแช่แห้งในวันที่แดดจัดท้องฟ้าโปร่ง เราจะสามารถเห็นความเรืองรองของวัดพระธาตุแช่แห้งได้ชัดเจนดั่งคำขวัญของเมืองน่านเลยล่ะครับที่ว่า “แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทองเรืองรองพระธาตุแช่แห้ง”
1.วัดพระธาตุเขาน้อย
จากอำเภอเวียงสาไปในตัวเมือง 25 กิโลเมตร แต่จากบ้านแม่ไป 18 กิโลเมตร มุ่งหน้าสู่ตัวเมือง วัดแรกที่เราจะแวะเลยก็คือวัดพระธาตุเขาน้อย เพราะถ้าหากเข้ามุ่งหน้าสู่ตัวเมืองจังหวัดน่านจะเจอวัดพระธาตุเขาน้อยอยู่ซ้ายมือ สูงเด่นเป็นสง่า และเห็นยอดพระธาตุแต่ไกล วัดพระธาตุเขาน้อยเป็นวัดที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองน่านมานานแสนนานว่ากันว่าอยู่มาคู่กับวัดพระธาตุแช่แห้งเลยทีเดียวครับ และวัดพระธาตุเขาน้อยนี้เองสามารถมองเห็นวิวตัวเมืองน่านได้อย่างชัดเจน หากไปยืนอยู่ที่วัดพระธาตุเขาน้อยนี้เราจะได้รู้ว่าเมืองน่านนี้ไม่ใหญ่นักเลยเป็นเมืองที่เล็กมากพอกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เลย วัดพระธาตุเขาน้อย อยู่บนยอดเขาน้อยบ้านดู่ใน ห่างจากศาลากลางจังหวัด ในทางทิศตะวันตก ประมาณ ๒ กิโลเมตร ยอดเขาสูง ประมาณ ๘๐๐ ฟุต มีเส้นทางรถยนต์สามารถขึ้นไปยอดพระธาตุได้ด้วย และมีทางบันไดเดินขึ้นวัดพระธาตุเขาน้อยได้ด้วย คนโบราณเค้าสันนิษฐานว่า มีอายุใกล้เคียงกับ วัดพระธาตุแช่แห้งมีความเชื่อว่ายอดพระธาตุเขาน้อยและขอดพระธาตุแช่แห้งจะส่องแสงหากันวันเข้าพรรษา จะเห็นเป็นเส้นพาดผ่านตัวเมืองไป แต่นี่ก็เป็นตำนานเล่าขานกันมาและเป็นความเชื่อส่วนบุคคล
2.วัดศรีพันต้น
วัดศรีพันต้นเป็นวัดที่สวยงามและได้การบูรณะใหม่มีสีเหลืองอร่ามงดงามยิ่งนัก วัดศรีพันต้นตั้งอยู่มุมสี่แยกพันต้น หากเดินทางจากเมืองแพร่เข้าเมืองน่านจะเห็นได้ชัดเจน เพราะหากใครเดินทางมาจากเมืองแพร่จะเห็นเด่นสง่าอยู่ที่สี่แยกพันต้น ทางด้านซ้ายมือ ภาพผนังโบสถ์ของวัดวัดศรีพันต้นนี้เป็นภาพวาดประวัติศาสตร์เมืองน่าน ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเมืองน่านทั้งหมดและได้การบูรณะใหม่ให้มีสีสันที่งดงามเหมาะแก่การเยี่ยมชมยิ่งนัก หากใครได้มีโอกาสไปเมืองน่านอย่างผมก็ลองแวะชมกันได้ครับเพราะเมืองน่านเค้ามีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและเหมาะแก่การอนุรักษ์ไว้ยิ่งนัก
3.เสาหลักเมืองน่านและวัดมิ่งเมือง
เสาหลักเมืองน่านมีมาตั้งแต่นานมากแล้วที่พบซากของวิหารก็ประมาณปีพ.ศ. 2400 มีเสาหลักเมืองเป็นท่อนซุงขนาดใหญ่มากหากเอาคนโอบก็ประมาณสองคนโอบได้ ต่อมาเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้สถาปนาชื่อใหม่ให้คือ “วัดมิ่งเมือง”ที่ชาวน่านเค้าเรียกกันมาจนถึงปัจจุบันนี้นี่เอง ต่อมาปี พ.ศ. 2527 ได้มรการรื้อถอนเพื่อสร้างวิหารหลังใหม่เป็นแบบล้านนาร่วมสมัยจนอยู่ถึงปัจจุบัน แต่วัดมิ่งเมือง ก็ได้มีการบูรณะมาเรื่อยๆเพื่อให้และมีความสวยงามจนมาถึงปัจจุบันนี้ ความสวยงามของวัดมิ่งเมืองนี้ยากที่จะบรรยาย และวัดมิ่งเมืองนี้ก็มีเสาหลักเมืองตั้งอยู่หน้าวิหาร เป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่อยู่คู่เมืองนานมาช้านาน และเป็นที่ศักการะบูชาของคนทั่วไป เสาร์อาทิตย์จะมีมัคคุเทศน้อยมาคอยให้ความรู้เราอยู่ที่วัดมิ่งเมืองด้วย สังเกตุได้ง่ายๆก็คือน้องๆจะแต่งชุดนักเรียน น่ารักไปอีกแบบ ทำให้เราได้ความรู้ไม่น้อย
4.วัดภูมินทร์
วัดภูมินทร์เป็นวัดที่โด่งดังไปทั่วโลกเพราะมีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปกรรมไทลื้อ ที่เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีตที่งดงามและที่โด่งดังเอามากและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกก็คือ “ภาพเสียงกระซิบ” เป็นภาพชายกระซิบข้างหูหญิงนางหนึ่ง เราจะเรียกได้ว่า “ภาพเสียงกระซิบบันลือโลก” วัดภูมินทร์จะมีความแปลกไม่เหมือนวัดอื่นในเมืองน่านก็คือโบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั่งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่าน นอกจากนี้ฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุดสมัยที่ผ่านมา ตามพงศาวดารของเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้น หลังจากขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปี ปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์ " ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างแต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ดั้งกล่าว ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยคือ เป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจัตุรมุข (กรมศิลปากร ได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจัตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน และวัดภูมินทร์ก็อยู่ในความดูแลของกรรมศิลปากรเพื่อจะได้เก็บไว้ให้ลูกหลานดูต่อๆไป หากเดินทางเข้ามาจากจังหวัดแพร่แล้วสี่แยกพันต้นเลี้ยวขวาเลยวัดมิ่งเมืองมาสักห้าร้อยเมตรจะเห็นได้เด่นชัดอยู่ทางด้านขวามือ อยู่ด้านข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ไม่สามารถเอารถเข้าไปจอดในวัดได้ แต่จะมีสถานที่จอดรถอยู่ข้างๆวัด สะดวกในการเดินทางเพราะเมืองน่านเค้าไม่แออัด ถนนหนทางนั้นดีนักเหมาะแล้วที่เป็นเมืองน่าอยู่จริงๆ และวัดภูมินทร์นี้ก็เป็นวัดที่นับว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีความสมบูรณ์อย่างมาก และจะหาดูที่ไหนในดินแดนล้านนาไม่ได้อีกแล้ว
5.วัดน้อย
วัดน้อยเป็นวัดที่เล็กที่สุดในโลก ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านหรือเรียกแบบพื้นบ้านว่า “หอคำ” เดิมเป็นคุ้มของ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช สร้างขึ้นเมื่อปี 2446 และที่หอคำนี้เองมีสิงศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอยู่คือ “งาช้างดำ” ตามประวัติกล่าวว่า พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นผู้ที่ได้มาเมื่อประมาณปี 1896 เป็นงาข้างซ้ายปลียาว 94 เซนติเมตร วัดโดยรอบส่วนโคนได้ 47 เซนติเมตร น้ำหนัก 18 กิโลกรัม เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. และวัดที่เล็กที่สุดในโลกนี้มีตำนานเล่าขานกันมาว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ได้กราบบังคมทูลถึงจำนวนวัดในเมืองน่านต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แต่ปรากฏว่านับจำนวนเกินไป 1 วัด จึงได้สร้างวัดน้อยแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อให้ครบตามจำนวนที่กราบทูล พระองค์เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 5 เพียงครั้งเดียวใน พ.ศ.2516 วัดน้อยคงสร้างหลังจากนั้น รูปทรงของวัดเป็นวิหารก่ออิฐ ถือปูน ขนาดกว้าง 1.98 เมตร ยาว 2.34 เมตร สูง 3.35 เมตร แบบศิลปะล้านนา สกุลช่างน่าน มีพระพุทธรูปและแผงพระพิมพ์ไม้ประดิษฐานอยู่ภายในวัดน้อยแห่งนี้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้วัดน้อยเป็นอันซีนไทยแลนด์(Unseen Thailand)อีกด้วย
6.วัดช้างค้ำวรวิหาร
วัดช้างค้ำวรวิหารอยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน(หอคำ) เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรงสร้างตามสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลางทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็กอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบันตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลักลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนอกระย้าย้อยเหมือนลวดลายที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์ ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ วัดช้างค้ำวรวิหารได้บูรณะใหม่มาหลายครั้งเนื่องจากว่ามีการชำรุดทรุดโทรมจากการที่ได้มีรถวิ่งผ่านถนนด้านข้างวัดช้างค้ำวรวิหารเอง แม่เล่าให้ฟังต่อว่าได้มีการปิดถนนด้านข้างพระธาตุหรือถนนหน้าหอคำอยู่หลายครั้ง เนื่องจากการวิ่งของรถทำให้พระธาตุสะเทือนและนำไปสู่การชำรุดทรุดโทรมเร็วกว่าโดนแดดโดนฝนตามธรรมชาติเสียอีก หากอย่างไรนายหมูหินเองก็ฝากผู้ดูแลและนักท่องเที่ยวและชาวเมืองน่านช่วยกันดูแลเพื่อลูกหลานจะได้เห็นต่อๆกันไปนะครับ และภายในวัด วัดช้างค้ำวรวิหารเองก็มีโรงเรียนสอนพระภิกษุสามเณรอยู่ด้ายซ้ายของวัด เป็นสถานที่เล่าเรียนของพระพุทธศาสนาของเมืองน่านนั่นเองครับ
7.วัดหัวข่วง
จากวัดช้างค้ำวรวิหารมาวัดหวัดหัวข่วงไม่ไกลเพราะอยู่เยื้องด้านหลังวัดช้างค้ำ หรืออยู่ด้านข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน(หอคำ) เป็นวัดที่สวยงามอีกวัดหนึ่งในเมืองน่านเพราะมีความสะอากเป็นระเบียบเรียบร้อย สงบร่มเย็น ภายในวัดหัวข่วงมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับพระเจ้าทองทิพย์ เฉพาะพระพักตร์แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลผสมระหว่างศิลปะพระพุทธรูปปางมารวิชัย และพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ส่วนชายจีวรที่ยาวมาจรดบั้นพระองค์แลดูสั้นกว่าปกติ อาจจะเป็นเพราะการยืดส่วนบั้นพระองค์ให้สูงขึ้นรับกับพระวรกายที่เพรียวบาง พระพุทธรูปองค์นี้คงมีอายุระหว่างครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 21 และวัดหัวข่วง ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงใน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สร้างด้วย ศิลปะล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 และมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามภายในพระวิหารด้วย วัดหัวข่วงเองมีหอไตรตั้งอยู่ด้านนอกวิหาร ส่วนใหญ่แล้วปลูกไว้บนบก เป็นอาคารทรงสูง ใต้ถุนโปร่งหรือก่อทึบ ส่วนใหญ่จะทำบันไดไว้ในตัวอาคาร แต่บางแห่งใช้บันไดพาดขึ้นทางด้านนอก รูปทรงโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับอุโบสถหรือวิหาร แต่มีขนาดเล็ก เช่น หอไตรวัดภูมินทร์ วัดนาปัง วัดข่วง และวัดทุ่งน้อย ซึ่งมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากมีการสลักลวดลายที่ฝาด้านนอก ส่วนหลังคาเดิม คงเป็นหลังคาจั่วมีชั้นลดแบบปั้นหยา แต่ในปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ทำให้รูปทรง ของอาคารหลังเดิมสูญเสียไป และเมื่อปี พ.ศ.2549 วัดหัวข่วงก็โดนน้ำท่วมอีกระรอกสร้างความเสียหายให้แก่วิหารและหอไตรไม่น้อย
8.วัดสวนตาล
จากวัดหัวข่วงไปวัดสวนตาลประมาณ 2 กิโลเมตรได้ วัดสวนตาลว่ากันว่าเป็นที่สุดท้ายของเจ้านายในสมัยก่อนเพราะเป็นวัดที่ใช้เป็นที่จุติก่อนขึ้นสวรรค์ วัดสวนตาลตั้งอยู่ที่ถนนมหายศ สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมวดี เมื่อ พ.ศ.1770 เจดีย์มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่างมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ จากภาพถ่ายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รูปเจดีย์วัดสวนตาลก่อนการบูรณะในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (ตรงกับรัชกาลที่ 5) เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์พระเจดีย์เป็นทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลศิลปะสมัยสุโขทัย ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1992 เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้ว มีงานนมัสการและสรงน้ำเป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และมีการเฉลิมฉลองทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ว่าจะแห่เทศกาลของหลายๆรายการของจังหวัดน่านก็จะมารวมกันที่วัดสวนตาลแห่งนี้เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลนั้นๆไป วัดสวนตาลมีสถานที่ที่กว้างขวางมีลานกว้างและมีวิหารที่สวยงาม
9.วัดพระธาตุแช่แห้ง
ปิดท้ายทริปวันแม่นี้ด้วยการไหว้พระ 9 วัดที่วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้งเป็นวัดประจำจังหวัดน่านและเป็นวัดประจำวันของคนเกิดปีเถาะ เป็นที่นับถือสักการะบูชาของคนเมืองน่านและคนต่างถิ่นเจดีย์พระธาตุแช่แห้ง ลักษณะขององค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตามตำนานเดิมและพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวว่า เจ้าพระยาการเมือง เจ้าผู้ครองนครปัวหรืออำเภอปัวในปัจจุบัน สร้างขึ้นในระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นมีการสร้างเสริมโครงสร้างหลายครั้งด้วยกัน ครั้งสุดท้าย เจ้าศรีสองเมืองได้สร้างเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบองค์เดิม เมื่อ พ.ศ. 2153 หากว่าพูดถึงอายุของวัดพระธาตุแช่แห้งนี้ก็อายุราวๆ 600 ปีทีเดียว ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง ตามพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวว่า พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ. 1897-1901 ปัจจุบันองค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 22.5 เมตร สูง 55.5 เมตร บุด้วยทองเหลืองหรือทองจังโก ลงรักปิดทองตลอดทั้งองค์ หากไปสักการะบูชาวัดพระธาตุแช่แห้งในวันที่แดดจัดท้องฟ้าโปร่ง เราจะสามารถเห็นความเรืองรองของวัดพระธาตุแช่แห้งได้ชัดเจนดั่งคำขวัญของเมืองน่านเลยล่ะครับที่ว่า “แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทองเรืองรองพระธาตุแช่แห้ง”