ล่องแก่งลำน้ำว้า อุทยานแห่งชาติแม่จริม - Mae Charim National Park

ข้อมูลเพิ่มเติมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ลำน้ำว้า คือ ต้นน้ำสายหนึ่งของแม่น้ำน่าน ที่มีต้นกำเนิดจากเขาจอม บนเทือกเขาผีปันน้ำพาดผ่านชายแดนระหว่างไทย-ลาว ปกคลุมด้วยป่าต้นน้ำในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ลักษณะของสายน้ำเป็นกำแพงผาหินสองฟากฝั่งเป็นป่าผลัดใบและป่าเบญจพรรณการล่องแก่ง
ลำน้ำว้ามีสายน้ำที่เร้าใจและสนุกสนานกับแก่งที่เป็นลูกคลื่น ไม่อันตรายจนเกินไป จัดว่าอยู่ในระดับ 3-5 ด้วยแก่งต่าง ๆ ในสายน้ำนี้ที่ทอดยาวเป็นระยะ ๆ นับจากจุดเริ่มต้นที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม จะผ่านแก่งน้ำปุ๊ แก่งหลวง แก่งห้วยสาลี่ แก่งต้นไทร แก่งน้ำวน ไปจนสิ้นสุดที่หาดบ้านไร่ โดยใช้เวลาล่องแก่งทั้งสิ้นราว 4-5 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การล่องคือช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ของทุกปี
การเดินทาง รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามเส้นทางสาย กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-น่าน ระยะทาง 668 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง เครื่องบิน จากจังหวัดน่านเดินทางไป อุทยานแห่งชาติแม่จริม โดยเส้นทางหมายเลข 1168 ไปยังอำเภอแม่จริม 38 กิโลเมตร เดินทางต่อไปยังบ้านน้ำพาน ระยะทาง 14 กิโลเมตร และแยกขวาไปทางบ้านร่มเกล้า จะถึงทางเข้าอุทยานแห่งชาติแม่จริม อีกราว 3 กิโลเมตรติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
1. บริษัท เนเจอร์ แทรเวลเลอร์
โทร. 0 2375 2062, 0 2375 2412
2. อุทยานแห่งชาติแม่จริม
โทร. 0 5471 0136
ข้อมูลการล่องแก่งจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยล่องแก่ง-แคนู-คยัค
บทนำ เมืองไทย มีพื้นที่ของป่าเขตร้อนที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของพืชพรรณไม้ นก และสัตว์ป่า ยิ่งไปกว่านั้น ผืนป่า ใหญ่คือ ต้นกำเนิดของสายน้ำ อันกลายมาเป็นเส้นทางธรรมชาติที่จะนำเราไปพบกับน้ำตกใหญ่กลางป่าลึก ขุนเขาสูงและ ป่าดิบสมบูรณ์ โดยการล่องแก่ง ซึ่งเริ่มต้นกันด้วยตำนานของการใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นแพล่องลำน้ำ เป็นการผสมผสานกัน ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่ลงตัวที่สุดสำหรับเมืองไทยที่สมบูรณ์ด้วยป่าไผ่ แต่เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ มากจนเกินความสมดุล โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นนี้ เป็นเหตุให้ป่าไผ่ลดหายไปอย่างน่าวิตก จึง มีการนำเรือยางเข้ามาใช้ทดแทน เป็นวิถีทางท่องเที่ยวใหม่ที่หยุดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถนำทางเข้า ถึงธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิดและปลอดภัยบนเส้นทางล่องแก่งตั้งแต่เหนือจรดใต้ของประเทศ
ภูมิศาสตร์ของแก่งน้ำ สายน้ำคือเส้นชีวิตของคนไทยที่ไหลหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ และที่มาของสายน้ำนั้น มักจะมาจากป่า ดงดิบอันชุ่มชื้น และไหลลงมาจากภูเขาสูงอันก่อให้เกิดธารน้ำที่ไหลแรงและกัดเซาะหุบเขาให้แคบและลึก ไม่มีที่ราบริม ฝั่งน้ำให้เห็นมากนัก ลักษณะหุบเขาในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นรูปตัววี ตามลำน้ำมักจะพบเกาะแก่งขวางอยู่ตามลำน้ำ และสาย น้ำตก สองฝั่งของธารน้ำมักเป็นหินล้วน ๆ ร่องน้ำแคบและตื้น ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และท้องน้ำมีแต่หินและกรวด เนื่องจากตะกอนละเอียด เช่น ดินและทรายถูกน้ำพัดพาไปหมด
ป่าไม้และพืชพรรณ บนเส้นทางของสายน้ำเชี่ยวที่ไหลผ่านเกาะแก่งลงมา ก็คือ ป่าต้นน้ำอันสมบูรณ์ การเดินทางท่องธรรมชาติในรูปแบบ ของการล่องแก่ง จึงเป็นวิถีแห่งสายน้ำที่นอกเหนือจากภูมิประเทศอันงดงามของธารน้ำ ป่าเขา และสายน้ำตกแล้ว ยังจะ พบกับสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ ตั้งแต่พืชพรรณ นก แมลง ผีเสื้อ และปลา สิ่งเหล่านี้คือคุณค่าของการท่องเที่ยว ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม
ผืนป่าไม้ที่มักปรากฏอยู่สองฝั่งน้ำ มีทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังรวมทั้งป่าดิบชื้นที่เขียวชอุ่มตลอดปี ซึ่งจะสังเกตเห็น ไม้จำพวกยาง ไทร ตะเคียน สัก ประดู่ ตะแบก หมาก และหวายชนิดต่าง ๆ พืชพรรณไม้ที่เด่นสำหรับป่าเมืองไทยคือ ไม ้ไผ่ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น ไผ่หก ไผ่หนาม ไผ่ซาง เป็นต้น และบนคาคบไม้จะมีพืชอิงอาศัย เช่น กระเช้าสีดา กล้วยไม้ป่า ชนิดต่าง ๆ สำหรับบริเวณชายน้ำ จะพบกับไม้ริมน้ำ เช่น ต้นจิก ไคร้น้ำ ผักกูด ส่วนบริเวณริมผาหินปูนที่เป็นธารน้ำตกจะ เต็มไปด้วยมอส และตะไคร่น้ำ จะมีเฟิร์นก้านดำขึ้นปกคลุม
ชีวิตในสายน้ำ ตามสองฝั่งแม่น้ำจะเป็นแหล่งที่นกน้ำหลายชนิดอาศัยหากินอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะนกที่ชอบกินปลาและแมลง เช่น นกกระเต็น ซึ่งก็มีอยู่หลายชนิดที่พบในบริเวณต้นน้ำ คือ นกกระเต็นน้อยธรรมดา นกกระเต็นอกขาว นกกระเต็นหัวดำ และ นกกระเต็นลายขาวดำ เป็นต้น นกในลำน้ำที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่ง คือ นกกางเขนน้ำ ซึ่งมีสีขาวดำหางยาว มักอยู่ตามลำธาร ต้นน้ำ นอกจากนี้ยังอาจจะพบนกเอี้ยงถ้ำ นกกระยาง และนกในป่าเบญจพรรณที่ลงมาหากินตามลำน้ำ
ริมฝั่งน้ำโดยทั่วไปจะเต็มไปด้วยแมลงและผีเสื้อมากมาย โดยเฉพาะแมลงปอ แมงมุมน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบง่ายมาก บาง แห่งตามหาดทรายจะเป็นที่ดินเค็ม ทำให้ผีเสื้อลงมาเกาะกันเป็นฝูง
ข้อควรปฏิบัติก่อนการเดินทาง 1. ก่อนจะไปล่องแก่งควรเตรียมตัวสำหรับการเดินทางให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับความสนุกสนาน ความปลอดภัย โดยมีส่งผล กระทบกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้ 2. พื้นที่ที่จะเดินทางไปส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตป่าต้นน้ำที่ธรรมชาติมีความเปราะบาง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องติดต่อขออนุญาตเดินทางเข้าไปในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เช่น การขออนุญาตต่อกรมป่าไม้ หน่วย งานที่ดูแลพื้นที่เหล่านั้นด้วย 3. การล่องแก่งเป็นกิจกรรมประเภทท่องเที่ยวธรรมชาติกึ่งการผจญภัย จำเป็นที่จะต้องใช้ความระมัด ระวังอย่างยิ่งในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยเลือกใช้บริการที่มีการจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวแล้วเรียบร้อย และตรวจสอบรายการท่องเที่ยว และข้อตกลงต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น การประกันภัย เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีการให้บริการ 4. การเตรียมตัวท่องเที่ยวทางน้ำ ควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม เช่น กางเกงขาสั้น และเสื้อผ้า ควรใช้ผ้าที่ แห้งง่าย รองเท้าแตะที่มีสายรัดจะดีมาก เพราะต้องเตรียมพร้อมที่จะเปียกน้ำ และขึ้นไปเดินบนฝั่ง หากมีการเดินป่าระยะทางไกล ก็จำเป็นต้องนำรองเท้าผ้าใบไปอีกคู่หนึ่ง ในช่วงฤดูหนาวควรมีเสื้อแจ๊กเกต ผ้ากันลมไว้ใส่กันหนาวช่วงที่ล่องแก่งด้วย 5. เสื้อผ้า อุปกรณ์สำหรับแค้มปิ้ง และกล้องถ่ายภาพ และของใช้ต่าง ๆ ควรใส่ถุงพลาสติค หรือถุงกันเปียก ให้เรียบร้อย การเตรียมสัมภาระต่าง ๆนำไปเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ เพราะพื้นที่ขนสัมภาระจำกัด 6. ในการล่องแก่งควรศึกษาข้อปฏิบัติการพายเรือ พยายามมีส่วนร่วมในการเดินทางอย่างดี ควรปฏิบัติตัว ตามคำแนะนำของกัปตันเรือ และมัคคุเทศก์ 7. หากมีการรับประทานอาหาร หรือไปประกอบอาหารในป่า ควรเลือกรายการอาหารที่สะดวกง่ายและ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องกระป๋อง ภาชนะประเภทกล่องโฟม ขวดน้ำ พลาสติคที่ใช้ครั้งเดียว เพื่อลดขยะ และมลพิษ ทุกครั้งที่เก็บแคมป์ ควรดูแลความสะอาด พยายามให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด
หลักการพายเรือล่องแก่ง ลักษณะของสายน้ำและการอ่านสายน้ำ ความแรงของกระแสน้ำจะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่าง ๆ ในธรรมชาติ เช่น ความลึก (Volume) โดยร่องน้ำยิ่งลึกมาก กระแสน้ำก็จะยิ่งไหลแรงมากขึ้นตาม การไหลของน้ำ (Gradient) สามารถแยกได้เป็น 2 อย่าง คือ แก่ง (Rapid) ซึ่งน้ำจะไหลเร็วและแรงมาก แอ่ง (Pool) น้ำจะไหลช้าและมีความลึกมาก ปกติโดยทั่วไป บริเวณต้นแก่งน้ำ จะไหลเอื่อยและช้ากว่ากลางแก่ง หรือปลายแก่ง
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้และนักล่องแก่งต้องคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของกระแสน้ำใต้ผิวน้ำและระดับน้ำจะต่างกัน โดยช่วงต่ำ กว่าผิวน้ำลงไป กระแสน้ำจะค่อย ๆ ลดความเร็วลง
สำหรับความลาดเอียงของหินใต้น้ำ (River Bend) จะมีผลต่อความแรงของกระแสน้ำด้วย คือบริเวณที่ลึก น้ำจะไหล แรงกว่าบริเวณที่ตื้น และภายใต้กระแสน้ำอาจจะมีหินใต้น้ำที่มองไม่เห็น และเป็นอันตรายไม่น้อย คือต้นไม้ หรือกิ่งไม้ที่ล้ม ขวางน้ำ อาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกเรือ หรือตัวเรือได้
ร่องน้ำรูปตัววี (downstream V) สายน้ำจะบีบตัวเข้าหากันเป็นรูปตัววี โดยมีโขดหินสองข้างขวางลำน้ำ ทำให้เกิด เป็นร่องน้ำระหว่างหินนั้น ควรบังคับหัวเรือให้ตรงตามร่องตัววีนั้น แต่อย่างไรก็ตาม นายท้ายเรือจะต้องตัดสินใจในการ แก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าอีกครั้ง เพราะช่องทางที่ดีที่สุดที่เห็นนั้น อาจจะพัดนักผจญแก่งไปกระแทกกับหินก็ได้
ร่องน้ำรูปตัววีคว่ำ ที่หันมุมแหลมเข้าหาเรานั้น จะเป็นอันตรายมาก เรืออาจจะกระแทกกับหิน หรือน้ำอาจดูดเข้าไปหา จนทำให้เรือ หรือตัวเรากระแทกกับแก่งหินได้
น้ำวน ในกรณีนี้จะต้องพายเรือออกจากศูนย์กลางของวังน้ำวนให้เร็วที่สุดและกรณีผู้ที่ตกน้ำก็เช่นกัน จะต้องพยายาม ว่ายออกจากศูนย์กลางให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่าฝั่งจะอยู่ทางใด และเมื่อหลุดจากวังน้ำวนมาแล้วค่อยว่ายเข้าหาฝั่ง
คลื่น (Wave) ในกระแสน้ำที่ไหลแรงและลึก หินใต้น้ำและผิวน้ำจะทำให้เกิดคลื่นน้อยใหญ่แตกต่างกัน คลื่นนั้นอาจจะ ม้วนเป็นวงอย่างแรง ควรพยายามหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ควบคุมเรือยาก เรืออาจจะถูกกระแสน้ำม้วนทำให้พลิกคว่ำได้
น้ำนิ่งหลังแก่ง (Eddy) กระแสน้ำบริเวณหลังแก่งจะเป็นน้ำวนไหลย้อนทิศทาง ทำให้มีความแรงของน้ำน้อยลง สามารถใช้เป็นจุดพักเรือได้
น้ำม้วนหน้าแก่ง (Hydro) เกิดจากกระแสน้ำที่ตกจากที่สูง น้ำที่ตกลงมาจะม้วนตัวอยู่หน้าแก่งก่อนที่จะไหลต่อไป ซึ่ง ถ้ามีความแรงมาก ๆ ก็สามารถที่จะพลิกเรือให้คว่ำได้ และถ้ากระแสน้ำไหลตกจากที่สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งอันตรายมาก เท่านั้น
ถ้ากรณีที่เรือพลิกคว่ำหลังลงจากที่สูงแล้ว ผู้ตกน้ำควรจะดำน้ำมุดหนีโพรงน้ำนั้นให้เร็วที่สุด อย่าพยายามขึ้นมาเหนือน้ำ เพราะกระแสน้ำจะม้วนดูดกลับลงไปอีก
การช่วยเหลือตัวเองเมื่อพลัดตกเรือ เมื่อตกไปในน้ำก็ให้พยายามว่ายเข้าหาเรือ หรือเข้าฝั่งให้เร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นจากกระแส น้ำที่พัดพาตัวเราให้ไปตกอีกแก่งหนึ่งได้ เมื่อตกน้ำ ให้พยายามลอยตัวให้อยู่เหนือน้ำในลักษณะท่านอนหงาย ยกขาทั้งสองข้างขึ้นระดับผิวน้ำ เสื้อชูชีพจะช่วยพยุง ตัวให้ลอย พยายามให้ขาไปข้างหน้าขณะที่ไหลไปตามกระแสน้ำ ค่อย ๆ เตะขาอย่างช้า ๆ เพื่อชะลอความเร็วและป้องกัน ตัวเองจากการกระแทกกับแก่งหิน ที่สำคัญอย่างยิ่งในการล่องเรือ ผู้เชี่ยวชาญเน้นที่ความปลอดภัยทุกครั้ง โดยเฉพาะอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น เสื้อชูชีพ หมวกกัน น็อก เสื้อชูชีพจะช่วยพยุงตัวเราให้ลอยเหนือน้ำ ส่วนหมวกกันน็อกนอกจากจะช่วยป้องกันศีรษะกระแทกกับหินแล้ว ใน กรณีตกจากเรือ ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุไม้พายของคนข้างหลังตีอีกด้วย
การจัดระดับความยากของแก่งตามมาตรฐานสากล ระดับ 1 ง่ายมาก มีแก่งเล็กน้อย ระดับ 2 ธรรมดา น้ำไหลแรงขึ้น มีแก่งที่ต้องใช้เทคนิค ระดับ 3 ปานกลาง เริ่มมีแก่งน่าตื่นเต้น เทคนิคการพายสูงขึ้น ระดับ 4 ยาก มีแก่งที่ต้องใช้ทั้งเทคนิคและทักษะในการพาย ระดับ 5 ยากมาก น้ำไหลเชี่ยว ต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์การพายสูง และต้องมีความระมัดระวัง ระดับ 6 อันตราย ไม่เหมาะแก่การล่องแก่ง


ล่องแก่งลำน้ำว้า เป็นกิจกรรมนันทนาการหลักของอุทยานแห่งชาติแม่จริม จุดเริ่มต้นที่บ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม และสิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ตำบลส้านนาหนองใหม่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ระยะทางจะเหลือ 19.2 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางล่องแก่งมีเกาะแก่งให้ผจญภัยตลอดเส้นทาง มีหาดทรายสำหรับจอดแพเล่นน้ำ หลายแห่ง รวมทั้งทัศนียภาพสองฝั่งลำน้ำที่งดงาม โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะสวยกว่าฤดูกาลอื่นๆมาก สามารถล่องแพได้ทุกฤดู ยกเว้นบางช่วงในฤดูฝนซึ่งมีน้ำหลากไม่สมควรล่องแพเพราะอาจเกิดอันตรายได้งาย"ล่องแก่งลำน้ำว้า สุดยอดแห่งควมมันส์เชิญมาล่องแก่งลำน้ำว้ากันนะครับ"กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - แค็มป์ปิ้ง - ล่องแก่ง
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ชบาไพร” อุทยานแห่งชาติแม่จริมได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ชบาไพร” ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติไว้บริการ เพื่อให้ศึกษาระบบนิเวศป่าไม้ ซึ่งจะได้รับความรู้ต่างๆ ได้จากสถานีที่อยู่ในเส้นทาง
สถานที่ติดต่ออุทยานแห่งชาติแม่จริมอ. แม่จริม จ. น่าน 55170โทรศัพท์ 0 5477 9402
การเดินทางรถยนต์ จากอำเภอแม่จริมใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1243 สายแม่จริม-น้ำมวบ ไปประมาณ 13 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยทรายมูล มีทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ มีสถานที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีเต็นท์ขนาด 2-3 คน ให้บริการจำนวน 15 หลัง รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง